ขั้นตอน มาตรฐาน การขอเครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้


เครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้

เครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้ เป็นหนึ่งในมาตรฐานการรับรองข้าว ที่มีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคได้รับประทานข้าวที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เพราะเป็นข้าวที่ผ่านการตรวจสอบและติดตาม ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป การบรรจุ จนถึงการจำหน่าย
กรมการข้าว ได้มีการส่งเสริมให้มีการรับรองข้าวในทุกกระบวนการผลิตข้าว เพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัยกับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้ เป็นเครื่องหมายที่ผู้บริโภคจะมั่นใจได้ว่า ข้าวที่รับประทานนั้นมีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย และเป็นข้าวตรงตามพันธุ์ ไม่มีข้าวพันธุ์อื่นปน โดยผู้ผลิตจะต้องผลิตข้าวจากเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากกรมการข้าว ปลูกข้าวตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน GAP หรืออินทรีย์ ผ่านการสี โดยโรงสีข้าวที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP หรือมาตรฐานการแปรรูปคัดบรรจุอินทรีย์ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพข้าวตามมาตรฐาน Q ผลิตภัณฑ์ และผ่านการตรวจสอบพันธุ์ปนจากกรมการข้าว
กรมการข้าว ได้จดทะเบียนเครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฉบับที่ (2) 2543 และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฉบับที่ (3) 2559 ประกาศใช้วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 โดยเครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้ จะมี 2 แบบ คือแบบเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งภาพเครื่องหมายที่ใช้มีความหมายว่า “การรวมกลุ่มของนาเล็กๆหลายแปลงมารวมกันเป็นนาแปลงใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมการผลิตของกรมการข้าว”
กรมการข้าวได้นำร่องการตรวจสอบข้าวตามมาตรฐานข้าวพันธุ์แท้กับข้าว กข43 ซึ่งเป็นข้าวที่เป็นที่ต้องการมากในผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ซึ่งข้าว กข43 เป็นข้าวนุ่มใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิ และเป็นข้าวที่ผ่านการวิจัยแล้วว่ามีค่า GI ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ ซึ่งกรมการข้าวเล็งเห็นว่าการผลิตข้าว กข43 นี้จำเป็นต้องมีการตรวจสอบมาตรฐานข้าวพันธุ์แท้ เพื่อป้องกันข้าวพันธุ์อื่นปน เพื่อให้ผู้บริโภคข้าวที่ต้องการควบคุมปริมาณ ค่า GI ในอาหาร สามารถรับประทานข้าวได้อย่างปลอดภัย และสบายใจ
ในปี 2563 นี้ กรมการข้าวได้เริ่มขยายขอบเขตการรับรองข้าวพันธุ์แท้ไปอีกหลายพันธุ์ข้าว เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวสังข์หยด ข้าวมะลินิลสุรินทร์ เป็นต้น เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้บริโภคข้าวที่ต้องการอย่างปลอดภัย ซึ่งกองพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว เป็นผู้รับผิดชอบในการลงพื้นที่สำรวจและตรวจประเมินเบื้องต้น เพื่อนำไปสู่การรับรองข้าวพันธุ์อื่นๆ เหล่านี้ต่อไป


กว่าจะได้ข้าวพันธุ์แท้

เครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้ เป็นเครื่องหมายรับรองหนึ่งในการรับรองข้าว ที่มีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคได้รับประทานข้าวที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เพราะเป็นข้าวที่ผ่านการตรวจสอบและติดตามตั้งแต่ การผลิต การแปรรูป การบรรจุ จนถึงการจำหน่าย และเพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ปลอดภัยกับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค จึงต้องมีขั้นตอนในการตรวจสอบเพื่อให้ข้าวที่ได้นั้นมีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย และเป็นข้าวตรงตามพันธุ์ ไม่มีข้าวพันธ์ุอื่นปน โดยผู้ผลิตจะต้องผลิตข้าวจากเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากกรมการข้าว ปลูกข้าวตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน GAP หรืออินทรีย์ ผ่านการแปรสภาพโดยโรงสีข้าวที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP หรือมาตรฐานการแปรรูปและคัดบรรจุข้าวอินทรีย์ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพข้าวตามมาตรฐาน Q ผลิตภัณฑ์ และผ่านการตรวจสอบพันธุ์ปนจากกรมการข้าว จึงจะสามารถขอใช้เครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้ได้

แบบฟอร์มเครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้
 ที่เอกสารแบบฟอร์ม  
1แบบคำขอใช้เครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้ (ตร.1) ดาวโหลด
2หนังสือมอบอำนาจ (ตร.2) ดาวโหลด 
3
ข้อบังคับกรมการข้าว ว่าด้วยการใช้
เครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้ พ.ศ. 2561
ดาวโหลด
4
ประกาศรายชื่อพันธุ์ข้าวที่กรมการข้าว
อนุญาตให้ขอการรับรองข้าวพันธุ์แท้
ดาวโหลด
แบบฟอร์มเครื่องหมาย Organic Thailand
ที่เอกสาร แบบฟอร์ม 
1แบบคำขอการรับรองระบบการผลิตข้าวอินทรีย์
แบบกลุ่ม 
ดาวโหลด 
2
แบบคำขอการรับรองการแปรรูป และ/หรือ
การคัดบรรจุข้าวอินทรีย์
ดาวโหลด 
3
แบบตรวจประเมินระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ 
ขอบข่าย การแปรรูป และ/หรือ คัดบรรจุ 
(สำหรับเจ้าหน้าที่) 
ดาวโหลด 
แบบฟอร์มเครื่องหมาย Q
ที่เอกสาร แบบฟอร์ม 
1 แบบคำขอการรับรองระบบการผลิตข้าว GAP แบบกลุ่มดาวโหลด 
2แบบคำขอรับการรับรองผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานสินค้าข้าวดาวโหลด 
แบบฟอร์มมาตรฐาน GMP โรงสีข้าว
ที่เอกสาร 
แบบฟอร์ม
1
(คม-1) ตัวอย่างคู่มือการจัดการด้าน
มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว 

ดาวโหลด
2

แผนการปฏิบัติงาน 


ผ-1 แผนการทำความสะอาดอาคารและสถานที่


ผ-2 แผนการสอบเทียบเครื่องจักร และเครื่องมือวัดภายใน 


ผ-3 แผนการป้องกัน กำจัดแมลง และสัตว์พาหะนำเชื้อ


ผ-4 แผนการฝึกอบรม 

 



ดาวโหลด


ดาวโหลด


ดาวโหลด


ดาวโหลด

3(บฟ-1) ทะเบียนรายชื่อผู้ขายข้าวเปลือก ดาวโหลด
4(บฟ-2) บันทึกการรับซื้อข้าวเปลือกดาวโหลด
5(บฟ-3) บันทึกการรับซื้อภาชนะบรรจุดาวโหลด
6(บฟ-4) บันทึกการลดความชื้นข้าวเปลือกดาวโหลด
7(บฟ-5) บันทึกการเก็บรักษาข้าวเปลือกและผลิตภัณฑ์ดาวโหลด
8(บฟ-6) การตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรดาวโหลด
9(บฟ-7) บันทึกการคัดแยกคุณภาพข้าวดาวโหลด
10(บฟ-8) บันทึกปริมาณผลิตภัณฑ์ข้าวดาวโหลด
11(บฟ-9) รายงานตรวจสอบสภาพรถขนส่งดาวโหลด
12(บฟ-10) รายงานการทำความสะอาดอาคารและสถานที่ดาวโหลด
13
(บฟ-11) บันทึกการทำความสะอาดและบำรุงรักษา
เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์
ดาวโหลด
14(บฟ-12) บันทึกการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องจักรดาวโหลด
15
(บฟ-13) บันทึกผลการสอบเทียบเครื่องจักร และ
เครื่องมือวัดภายใน
ดาวโหลด
16
(บฟ-14) บันทึกการป้องกัน กำจัดแมลง
และสัตว์พาหะนำเชื้อ
ดาวโหลด
17(บฟ-15) บันทึกการกำจัดของเสียดาวโหลด
18
(บฟ-16) ประวัติการแตก/ชำรุดของแก้ว กระจก 
และพลาสติกแข็งภายในโรงสี
ดาวโหลด
19(บฟ-17) บันทึกการตรวจสอบสุขลักษณะของพนักงานดาวโหลด
20(บฟ-18) บันทึกประวัติการฝึกอบรมพนักงานดาวโหลด